วันเสาร์, 20 เมษายน 2567

อำเภอเมืองพิจิตร จ.พิจิตร

“พิจิตร” แปลว่า “งาม” เมื่อกล่าวถึงเมืองพิจิตรจึงหมายถึงเมืองงาม เมืองที่มีเสน่ห์ประทับใจ นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ เป็นที่ประสูติของพระเจ้าเสือ หรือ “พระศรีสรรเพชญ์ที่ 8” พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยาและเป็นเมืองที่ให้กำเนิดนักปราชญ์ราชบัณฑิต คือ พระโหราธิบดี บิดาของศรีปราชญ์ จังหวัดพิจิตรเป็นจังหวัดเก่าแก่มากจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เชื่อกันว่าเจ้ากาญจนกุมาร (พระยาโคตระบอง) โอรสพระยาโคตมเทวราช เป็นผู้สร้างเมือง เหนือฝั่งแม่น้ำน่านในปี พ.ศ. 1601 เดิมมีหลายชื่อ คือ เมืองสระหลวง เมืองโอฆะบุรี เมืองชัยบวรและเมืองปากยม ดินแดนอันเป็นเขตจังหวัดพิจิตรอยู่ในที่ราบลุ่มตอนใต้ของภาคเหนือในดินแดนสุวรรณภูมิบริเวณนี้เป็นบริเวณที่ลำน้ำยมและลำน้ำน่านไหลผ่าน ลักษณะพิเศษของดินแดนจังหวัดพิจิตรเดิมเต็มไปด้วยห้วย หนอง คลอง บึง พื้นดินจังหวัดพิจิตร เป็นดินอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตร เพราะเป็นดินตะกอนที่เกิดจากน้ำท่วมทับถมทุกปีมีปลาชุกชุม ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบจตุสดมภ์และแบ่งหัวเมืองออกเป็นหัวเมือง เอก โท ตรี จัตวา เมืองพิจิตรมีฐานะเป็นเมืองตรี มีความสำคัญทางทหารและการปกครองมาก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์คำกลอนเรื่อง “ไกรทอง” โดยใช้เมืองพิจิตรเป็นแหล่งกำเนิดของเรื่องราว เนื่องจากเมืองพิจิตร เป็นเมืองที่มีแหล่งน้ำมากมายและมีจระเข้ชุกชุมนั่นเอง ในปี พ.ศ. 2435 กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้นำรูปแบบการปกครองระบบ เทศภิบาลมาใช้และได้จัดตั้งมณฑลพิษณุโลก เป็นมณฑลแรกประกอบด้วย 5 เมือง คือ เมืองพิษณุโลก เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองสุโขทัย และเมืองพิจิต อำเภอเมืองพิจิตรตั้งอยู่ทางตอนบนของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดข้างเคียง ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางกระทุ่ม (จังหวัดพิษณุโลก) ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสากเหล็กและอำเภอวังทรายพูน ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอตะพานหิน ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอโพธิ์ประทับช้างและอำเภอสามง่าม สถานีรถไฟพิจิตร ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร เป็นสถานีรถไฟประจำจังหวัดพิจิตรสถานีรถไฟพิจิตรสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2450 (ไม่มีวันและเดือนปรากฏแน่ชัด) ซึ่งถ้านับถึงปี พ.ศ.ปัจจุบัน (2562) สถานีรถไฟพิจิตรมีอายุถึง 112 ปีเลยทีเดียวมากกว่าสถานีรถไฟกรุงเทพ(หัวลำโพง)ที่สร้างในปี พ.ศ.2459 เสียอีก (เดิมสถานีกรุงเทพมีสถานีเก่าแล้วได้รับการสร้างใหม่ สถานีกรุงเทพปัจจุบันจึงมีอายุน้อยกว่าสถานีพิจิตร) โดยสถานีรถไฟพิจิตรมีลักษณะที่โดดเด่น คือ ตัวอาคารที่มีลักษณะแบบนีโอคลาสสิก ซึ่งสถานีรถไฟลักษณะนี้เหลือเพียง 2 แห่งในประเทศไทย คือสถานีรถไฟพิจิตรและสถานีรถไฟกรุงเทพ(หัวลำโพง) การปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่อำเภอเมืองพิจิตรประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 19 แห่ง ได้แก่ เทศบาลเมืองพิจิตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองทั้งตำบล เทศบาลตำบลท่าฬ่อ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลท่าฬ่อ เทศบาลตำบลวังกรด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านบุ่ง เทศบาลตำบลหัวดง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหัวดง เทศบาลตำบลดงป่าคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงป่าคำทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ขวาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่ขวางทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลย่านยาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลย่านยาวทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลท่าฬ่อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าฬ่อ (นอกเขตเทศบาลตำบลท่าฬ่อ) องค์การบริหารส่วนตำบลปากทาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากทางทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลคลองคะเชนทร์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองคะเชนทร์ทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลโรงช้าง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโรงช้างทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเก่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองเก่าทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลท่าหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าหลวงทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบุ่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านบุ่ง (นอกเขตเทศบาลตำบลวังกรด) องค์การบริหารส่วนตำบลฆะมัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฆะมังทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลหัวดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวดง (นอกเขตเทศบาลตำบลหัวดง) องค์การบริหารส่วนตำบลป่ามะคาบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่ามะคาบทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลสายคำโห้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสายคำโห้ทั้งตำบล องค์การบริหารส่วนตำบลดงกลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงกลางทั้งตำบล  
ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว อ.เมืองพิจิตร
5 1 vote
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x