วันเสาร์, 20 เมษายน 2567

ศูนย์ชัยพัฒนาการเกษตรสิรินธร อ.บางมูลนาก

ลักษณะเด่น

ศูนย์ชัยพัฒนาการเกษตรสิรินธร ตั้งอยู่ที่บ้านสะพานยาว หมู่ที่ 11 ตำบลเนินมะกอก อำเภอ บางมูลนาก จังหวัดพิจิตร มีพื้นที่ทั้งหมด 91 ไร่ 2งาน 44 ตารางวา ซึ่งนางจรัสศรี จินดาสงวน ได้ทูลเกล้าฯถวายให้กับมูลนิธิชัยพัฒนา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับพระราชานุญาติ เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2550 ให้เข้าดำเนินงานการพัฒนาพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาให้เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ที่ประสบปัญหาอุทกภัย ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเป็นการส่วนพระองค์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2550 เพื่อทรงเยี่ยมชมพร้อมกับทรงเปิดป้าย “ศูนย์ชัยพัฒนาการเกษตรสิรินธร” ด้วย

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการพัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งเรียนรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยได้แบ่งเป็นลักษณะการดำเนินงานของ “ศูนย์ชัยพัฒนาการเกษตรสิรินธร” ออกเป็น 13 กิจกรรมหลัก ได้แก่่

1. จุดเรียนรู้การปลูกพืชผัก มีวัตถุประสงค์ให้เกษตรกรได้รับความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตพืชผักที่ดีและ เหมาะสมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ได้เรียนรู้กระบวนการผลิตพืชผักปลอดภัยจากสารพิษที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามความต้องการของตลาดและ ให้เกษตรกรสามารถทำการผลิตพืชผักที่ปลอดภัยจากสารพิษส่งผลให้คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมดีขึ้น

2. จุดเรียนรู้การเพาะเห็ด มีวัตถุประสงค์ให้เกษตรกรได้เรียนรู้การเพาะเห็ดแต่ละชนิดที่มีความเหมาะสมในสภาพ โรงเรือน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ได้ผลผลิตเห็ดที่มีคุณภาพปลอดภัยจากสารพิษอย่างยั่งยืนและมีความต่อเนื่อง ด้านการผลิต เกษตรกรสามารถยึดเป็นอาชีพ เพื่อลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้ให้แต่ละครัวเรือน

3. จุดเรียนรูแปลงปลูกพืชสมุนไพร มีวัตถุประสงค์ให้เกษตรกรและผู้สนใจได้ศึกษาเรียนรู้การใช้พืชสมุนไพร ทั้งเพื่อประโยชน์ทางการเกษตร และประโยชน์ด้านโภชนาการและสุขภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกษตรกรสามารถลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร เพิ่มรายได้ และมีสุขภาพที่ดีขึ้น โดยมีพืชสมุนไพรที่รวบรวมไว้แล้วทั้งสิ้น 55 ชนิด

4. จุดเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี/ความรู้ในการเลี้ยงปลาดุกใยบ่อพลาสติก ให้เกษตรกร สามารถนำไปปฏิบัติตามได้ แม้จะมีพื้นที่เลี้ยงและ ปริมาณน้ำจำกัด ผลผลิตที่ได้นอกจากเป็นรายได้เสริมยังสามารถใข้เป็นแหล่งอาหารโปรตีนใน ครัวเรือนได้

5. จุดเรียนรู้การเลี้ยงกบ มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี/ความรู้ในการเพาะพันธุ์และการเลี้ยงกบนาแก่เกษตรกรเพื่อเป็นอาชีพเสริมในการสร้างรายได้แก่เกษตรกร

6. จุดเรียนรู้สวนผักสมุนไพรพื้นบ้าน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้เกี่ยวเทคโนโลยีการผลิตสวนผัก สมุนไพรพื้นบ้านที่ดี และ เหมาะสมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ได้ผักสมุนไพรพื้นบ้านที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามความต้องการของตลาด เกษตรกรมีผักสมุนไพรใช้ใน ชุมชน เพื่อเป็นยาและอาหารทำให้เกษตรกรลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และเกิดประโยชน์ที่ยั่งยืน

7. จุดเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง พร้อมฝึกปฏิบัติการผลิตและการปั้นเม็ดปุ๋ยอินทรีย์ รวมทั้งรู้จักวิธีการใช้เครื่องจักรกลในโรงงาน ได้แก่ เครื่องสับย่อย เครื่องบดละเอียด สายพานลำเลียงปุ๋ยอินทรีย์ จากปั้นเม็ดพร้อมปั้มน้ำฉีดพ่นจุลินทรีย์แบบอัตโนมัติ เป็นการลดการใช้ปุ๋ยเคมี ลดต้นทุนการผลิตและปรับปรุงดินให้มีความอึดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน

8. จุดเรียนรู้การผลิตเมล็ดพันธ์ข้าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตเม็ดข้าวพันธุ์ดี เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อกระจายพันธุ์ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ และเป็นแปลงต้นแบบเทคโนโลยีการผลิตข้าวที่เหมาะสม เพื่อการเรียนรู้ของเกษตรกร ซึ่งจะทำให้มีเม็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีและคุณภาพดี กระจายสู่พื้นที่ตามความต้องการของเกษตรกร ยกระดับผลผลิตและคุณภาพของข้าวเปลือกในพื้นที่สูงขึ้น จากการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี และเกษตรกรนำความรู้จากจุดเรียนรู้ไปปรับใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้

9. จุดเรียนรู้การเพาะพันธุ์ปลานิล มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตปลานิลพันธุ์ดี แจกจ่ายแก่เกษตรกร เพื่อสร้างรายได้/อาชีพและในระยะต่อไปจะจำหน่ายพันธุ์ปลาในราคาถูก
10. จุดเรียนรู้การเพาะพันธุ์ปลาสวยงามและปลากัด มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี/ความรู้ ในการเพาะพันธุ์ปลาสวยงามที่มีความต้องการของตลาดสูง อาทิ ปลาทอง ปลากัด ปลาสอด ปลาหมอสี ปลาหางนกยูงและปลาหมู โดยเป็นแหล่งที่รวบรวมพันธุ์ปลาหมูมากที่สุดในโลก และแหล่งรวบรวมพันธุ์ปลากัดให้มากที่สุดในโลก เพื่อสร้างอาชีพใหม่เป็นรายได้เสริมแก่เกษตรกร

11. จุดเรียนรู้การเลี้ยงโคนม มีวัตถุประสงค์เพื่อสาธิตและการจัดการอาหารหยาบคุณภาพดีในการเลี้ยงโคนม โดยไม่ใช้อาหารข้น มีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัมของน้ำนมดิบให้ต่ำลง ได้ผลผลิตที่เหมาะสมทั้งปริมาณและคุณภาพเพิ่มช่องว่างของรายได้กับต้นทุนให้มากขึ้นและผู้เลี้ยงอยู่รอด มีกำไร พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

12. จุดเรียนรู้พันธุ์ไม้ผล มีวัตถุประสงค์ เป็นแหล่งรวบรวมไม้ผลพันธุ์ดีต่าง ๆ ทั้งที่เป็นพันธุ์ที่หายาก และพันธุ์ที่ปลูกเป็นพืชสำคัญทางเศรษฐกิจในเชิงระบบ สำหรับเป็นแนวทางให้เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปได้เข้ามาศึกษา หาความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อประกอบเป็นอาชีพได้ เป้าหมายเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้ผลพันธุ์ดี พันธุ์หายาก และพันธุ์ที่เป็นพืชสำคัญทางเศรษฐกิจ เพื่อการเรียนรู้ของจังหวัดพิจิตร

13. กิจกรรม งานพัฒนาระบบชลประทานภายในศูนย์ฯและพื้นที่รอบศูนย์ฯ จำนวน 2,500 ไร่ เพื่อจัดการน้ำให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ที่อยู่

ตำบล เนินมะกอก อำเภอ บางมูลนาก พิจิตร 66120

ห่างจากจังหวัดพิจิตร

57.4 กิโลเมตร

เบอร์โทรศัพท์

056-632333

สื่อ Social

เวลาเปิด-ปิด

08:00 – 16.00 น.

แผนที่-สถานที่ตั้ง

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x