วันเสาร์, 27 เมษายน 2567

“หลวงพ่อเพชร”วัดท่าหลวง

ลักษณะเด่น

 
หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยเชียงแสน หล่อด้วยโลหะทองสัมฤทธิ์ มีพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ชายสังฆาฏิหยักเป็นเขี้ยวตะขาบสั้นเหนือพระอุระ เกตุบัวตูม ขนาดหน้าตัก 1.40 เมตร สูง 1.60 เมตร ประทับนั่งบนฐานดอกบัวบานหงายรองรับ ต่อจากฐานโลหะเป็นแท่นชุกชี มีลวดลายปิดทอง ประดับกระจก ผู้ชำนาญการได้ตรวจสอบและได้ให้ความเห็นตรงกันว่า องค์หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน สิงห์หนึ่ง สร้างขึ้นในระหว่างปีพ.ศ. 1660 ถึงปี พ.ศ.1800
 
         ประวัติการสร้างและความเป็นมาของ องค์หลวงพ่อเพชร ยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชัดแน่นอน เพียงแต่มีตำนานเล่าขานกันสืบมาตั้งแต่ครั้งบรรพก
าลว่า เดิมหลวงพ่อเพชรประดิษฐานอยู่ที่วัดจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ แล้วมีการอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถวัดนครชุม เมืองพิจิตร (เก่า) โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อคราวยกทัพไปปราบหัวเมืองทางเหนือ
 
        ต่อมาราวปี พ.ศ. 2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดเบญจมบพิตร มีพระราชประสงค์จะอันเชิญพระพุทธชินราชจากเมืองพิษณุโลกไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ชาวเมืองพิษณุโลกพากันเศร้าโศกไปทั้งเมือง พระองค์จึงมี พระบรมราชโองการให้สืบหาพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามไปแทนพระพุทธชินราช เจ้าพระยาศรีสุริยศักดิ์ซึ่งเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก ทราบว่าหลวงพ่อเพชร เมืองพิจิตรมีพุทธลักษณะงดงาม จึงแจ้งเจ้าเมืองพิจิตรทราบ พร้อมทั้งให้อัญเชิญหลวงพ่อเพชรขึ้นไปที่เมืองพิษณุโลก
 
        ชาวเมืองพิจิตรเมื่อได้ทราบข่าวก็เกิดการหวงแหน ได้นำหลวงพ่อเพชร ไปซ่อนไว้ตามป่า แต่คณะกรรมการเมืองก็ได้ติดตามกลับคืนมาได้และอัญเชิญ หลวงพ่อเพชรมาไว้ที่วัดท่าหลวง เมืองพิจิตร (ใหม่) เพื่อรอการอันเชิญไปประดิษฐานที่เมืองพิษณุโลกต่อไป เหตุการณ์ครั้งนั้นยังความเศร้าโศกเสียใจให้กับชาวเมืองเป็นอย่างยิ่ง ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเข้าพระทัยชาวเมืองพิษณุโลกและชาวเมืองพิจิตร จึงโปรดเกล้าฯ ให้ระงับการนำพระพุทธชินราชและหลวงพ่อเพชรไปกรุงเทพฯ และโปรดเกล้าฯ ให้หล่อ พระพุทธชินราชจำลอง เพื่อนำไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรแทน หลวงพ่อเพชรจึงไม่ต้องถูกนำไปเมืองพิษณุโลก
 
หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยเชียงแสน หล่อด้วยโลหะทองสัมฤทธิ์ มีพุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ชายสังฆาฏิหยักเป็นเขี้ยวตะขาบสั้นเหนือพระอุระ เกตุบัวตูม ขนาดหน้าตัก 1.40 เมตร สูง 1.60 เมตร ประทับนั่งบนฐานดอกบัวบานหงายรองรับ ต่อจากฐานโลหะเป็นแท่นชุกชี มีลวดลายปิดทอง ประดับกระจก ผู้ชำนาญการได้ตรวจสอบและได้ให้ความเห็นตรงกันว่า องค์หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน สิงห์หนึ่ง สร้างขึ้นในระหว่างปีพ.ศ. 1660 ถึงปี พ.ศ.1800
 
         ประวัติการสร้างและความเป็นมาของ องค์หลวงพ่อเพชร ยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชัดแน่นอน เพียงแต่มีตำนานเล่าขานกันสืบมาตั้งแต่ครั้งบรรพก
าลว่า เดิมหลวงพ่อเพชรประดิษฐานอยู่ที่วัดจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ แล้วมีการอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถวัดนครชุม เมืองพิจิตร (เก่า) โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อคราวยกทัพไปปราบหัวเมืองทางเหนือ
 
        ต่อมาราวปี พ.ศ. 2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดเบญจมบพิตร มีพระราชประสงค์จะอันเชิญพระพุทธชินราชจากเมืองพิษณุโลกไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ชาวเมืองพิษณุโลกพากันเศร้าโศกไปทั้งเมือง พระองค์จึงมี พระบรมราชโองการให้สืบหาพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามไปแทนพระพุทธชินราช เจ้าพระยาศรีสุริยศักดิ์ซึ่งเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก ทราบว่าหลวงพ่อเพชร เมืองพิจิตรมีพุทธลักษณะงดงาม จึงแจ้งเจ้าเมืองพิจิตรทราบ พร้อมทั้งให้อัญเชิญหลวงพ่อเพชรขึ้นไปที่เมืองพิษณุโลก
 
        ชาวเมืองพิจิตรเมื่อได้ทราบข่าวก็เกิดการหวงแหน ได้นำหลวงพ่อเพชร ไปซ่อนไว้ตามป่า แต่คณะกรรมการเมืองก็ได้ติดตามกลับคืนมาได้และอัญเชิญ หลวงพ่อเพชรมาไว้ที่วัดท่าหลวง เมืองพิจิตร (ใหม่) เพื่อรอการอันเชิญไปประดิษฐานที่เมืองพิษณุโลกต่อไป เหตุการณ์ครั้งนั้นยังความเศร้าโศกเสียใจให้กับชาวเมืองเป็นอย่างยิ่ง ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเข้าพระทัยชาวเมืองพิษณุโลกและชาวเมืองพิจิตร จึงโปรดเกล้าฯ ให้ระงับการนำพระพุทธชินราชและหลวงพ่อเพชรไปกรุงเทพฯ และโปรดเกล้าฯ ให้หล่อ พระพุทธชินราชจำลอง เพื่อนำไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรแทน หลวงพ่อเพชรจึงไม่ต้องถูกนำไปเมืองพิษณุโลก

ที่อยู่

ตำบล ในเมือง อำเภอเมืองพิจิตร พิจิตร 66000

ห่างจากจังหวัดพิจิตร

1 กิโลเมตร

เบอร์โทรศัพท์

056-611766

สื่อ Social

https://www.facebook.com/WatThaLuangPhichit

เวลาเปิด-ปิด

08.00น. – 18.00น.

แผนที่-สถานที่ตั้ง

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x